แสดงทั้งหมด 3 ผลลัพท์
อังสะราคา สุดคุ้ม เสื้ออังสะ อังสะพระ ผ้าโทเร ผ้ามัสลิน มีหลายไซส์ให้เลือก
อังสะราคา คือ ครื่องนุ่งห่มด้านในที่พระภิกษุ สามเณร ใส่สวมเฉียงบ่าปิดไหล่ ใช้ขณะอยู่ตามลำพังหรือทำงานในวัด ซึ่งตามพระวินัยห้ามมิให้พระสงฆ์เปลือยกาย โดยใช้ผ้าอังสะนี้ปิดร่างกายท่อนบน
อังสะ มีแบบไหนบ้าง
อังสะมีด้วยกันหลายแบบ แบ่งตามลักษณะที่เห็นได้ทั่วไป ดังนี้
- อังสะสไบ จะจัดเป็นชิ้นผ้าตรง ๆ สำหรับพาดบนบ่า และมีตัวเกี่ยวด้านข้างกันหลุด และอังสะสไบเป็นส่วนประกอบหลักของผ้าไตรครองที่ใช้ในพิธีอุปสมบท
- อังสะลังกา จะจัดเย็บเป็นกึ่งสไบสำเร็จรูป ซึ่งทำให้สวมใส่ได้สะดวกกว่า อังสะทั้งสองแบบถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุดผ้าไตร
- อังสะแขนยาว จะจัดเป็นอัฐบริขารเครื่องกันหนาว มีลักษณะเป็นผ้ายืดแขนยาว ผ้าสำลีเนื้อหนา ผ้าไหมพรม หรือผ้าฟลีซ เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น เหมาะสำหรับไปต่างประเทศ หรือที่ที่มีอากาศหนาวจัด
อังสะ มีขนาดเท่าไหร่บ้าง
อังสะตามมาตรฐานการตัดเย็บของร้านโชคดีสังฆภัณฑ์มีตั้งแต่ไซส์ M ไปจนถึง XXL รายละเอียดดังนี้
M : 45x85
L : 50x85
XL : 55x85
XXL : 62x85
หมายเหตุ : หน่วยกว้างxยาว เป็น ซม.
อังสะ มีสีอะไรบ้าง
สำหรับอังสะโดยทั่วไปจะมีสีตามจีวรหรือผ้าไตร แต่ละวัดอาจใช้สีไม่เหมือนกัน เช่น สีแก่นขนุน หรือ สีกรัก คือสีน้ำตาลอมเหลือง เดิมนิยมใช้ในวัดธรรมยุตินิกาย รวมไปถึงสีแก่นบวร ซึ่งเป็นสีน้ำตาลเข้ม แต่โดยหลัก ๆ แล้วประเทศไทยจะนุ่งห่มจีวรทั้งสิ้น 2 เฉด ดังนี้
- สีวัง สีราชนิยม สีพระราชทาน จะเป็นสีออกทอง อยู่กึ่งกลางระหว่างสีเหลืองส้มกับแก่นขนุน พระสงฆ์ทั้งมหานิกายและธรรมยุตใช้ครองในงานพระราชพิธี
- สีทอง สีเหลือง สีเหลืองส้ม สำหรับพระสงฆ์มหานิกาย
อังสะ ราคา
ราคาของอังสะขึ้นอยู่กับชนิดผ้าและขนาด
- อังสะ ผ้าโทเร ราคาถูกที่สุด เนื้อผ้านุ่มปานกลาง ระบายอากาศได้พอสมควร เหมาะกับพระที่ต้องการบวชระยะสั้น และผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย
- อังสะ ผ้ามัสลิน เป็นที่นิยมเนื่องจากเนื้อผ้านุ่มละเอียด น้ำหนักเบา ระบายอากาศดี ใส่สบาย ซับเหงื่อได้ดี แห้งไว เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้น ลดปัญหาการเกิดเชื้อรา ราคาปานกลาง
- อังสะ ผ้าไหม เนื้อผ้านุ่มลื่นเป็นเงา ใช้ถวายพระภิกษุผู้ใหญ่ที่มีสมณศักดิ์ ราคาสูง
อังสะผ้าโทเร 5กระเป๋า แบบ ซิป/กระดุม ข้าง
ราคา 190 – 250 บาท
อังสะผ้ามัสลิน 4กระเป๋า แบบ กระดุม ข้าง
ราคา 190 – 280 บาท
อังสะมีความสำคัญไหม
อังสะเป็นผ้าพิเศษของพระสงฆ์ที่อยู่นอกเหนือจากไตรจีวร ในอดีตอาจไม่จำเป็นนัก แต่ปัจจุบันอังสะกลับกลายเป็นหนึ่งในเครื่องนุ่มห่มของพระสงฆ์ที่จำเป็นและนิยมใช้กันมากขึ้นอย่างขาดไม่ได้ เพราะสมัยนี้ถือกันว่าการเดินเปลือยท่อนบนนั้นไม่สุภาพ อังสะจึงมีขึ้นเพื่อให้พระท่านใส่เวลาเดินอยู่ในวัด ถ้าไม่ห่มจีวร เพื่อให้ดูเรียบร้อย
อังสะใช้ถวายตอนไหน
การถวายอังสะ สามารถถวายรวมอยู่ในการถวายผ้าไตรจำนวน 7 ชิ้น เพื่อใช้เวลาออกนอกสถานที่หรือเวลาประกอบศาสนกิจ หรือถวายให้พระภิกษุที่พระอุปัชฌาย์มอบให้ในวันบวช โดยถวายได้ตลอดทั้งปี และทุกโอกาส