เรื่องน่ารู้ “บาตรพระ” กับอานิสงฆ์ของการถวายบาตรพระบวชใหม่
บาตรพระ ถือเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร 8 ที่จำเป็นต่อพระสงฆ์ อานิสงส์ ถวายบาตรพระบวชใหม่ จึงได้กุศลแรงมาก มารู้จักเรื่องราวของบาตรพระ พร้อมคำแนะนำในการเลือกบาตรถวายพระให้เหมาะสม
การบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานั้นต้องทรงบริขาร 8 และหนึ่งในของคู่กายพระสงฆ์ที่จำเป็นในการดำรงสมณเพศก็คือ “บาตร” เพราะจะต้องใช้ในการภิกขาจาร เพื่อให้ได้ภัตตาหารมาเลี้ยงชีพ ซึ่งบาตรใบเดียวอาจเลี้ยงได้ตลอดชีวิต หรือเลี้ยงพระได้นับสิบรูป เนื่องด้วยความสำคัญอย่างยิ่งของบาตรพระ พุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยจึงนิยมถวายบาตรแก่พระภิกษุสงฆ์ อีกทั้งเชื่อว่าผู้ที่ทำบุญด้วยการถวายบาตรพระจะได้รับอานิสงส์อันแรงกล้า จริงหรือไม่ ? แล้วควรเลือกบาตรพระอย่างไรให้ถูกต้องเหมาะสม เรามีคำแนะนำมาบอกต่อกันแล้ว
บาตรพระคือ
บาตร หมายถึงภาชนะใส่อาหารสำหรับพระภิกษุสามเณร เป็นของใช้ที่มีความสำคัญสำหรับสงฆ์เป็นอย่างมาก และเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร 8 อย่าง ที่บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย ได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) ประคดเอว บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม และกระบอกกรองน้ำ
นอกจากนี้ บาตรยังมีไว้เพื่อให้รู้จัก “ขอ” เพื่อลดอัตตา แต่ไม่ใช่ขอเพื่อสนองความต้องการที่ไม่รู้จักพอของตน และ “ให้” หรือบริจาคเพื่อให้รู้จักเสียสละและแบ่งปันด้วยใจ มีเจตตนาดี เป็นการขัดเกลาจิตใจให้รู้จักความพอดี อีกทั้งการถือบาตรยังฝึกให้มีสติทุกย่างก้าวทุกขณะ เพื่อมิให้เกิดความไม่ประมาทและสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมออีกด้วย
บาตรพระในประวัติศาสตร์
หากย้อนตามพระพุทธประวัติ เคยปรากฎคำบอกเล่าไว้ในปฐมสมโพธิและพระวินัยปิฎกมหาวรรค ว่าบาตรใบแรกของพระพุทธเจ้าคือบาตรที่ฆฏิการพรหมนำมาถวายคราวเสด็จออกผนวช ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมา บาตรนั้นเกิดหายไปตอนรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา จากนั้น ท้าวจตุมาหราช เทพผู้อภิบาลรักษาโลกประจำอยู่ทิศทั้งสี่ ทรงหยั่งทราบ จึงนำบาตรศิลามีพรรณรังสีเขียวมาถวาย องค์ละ 1 ใบ รวมเป็น 4 ใบ พระพุทธองค์จึงทรงรับบาตรทั้ง 4 อธิษฐานเข้าเป็นใบเดียวกัน กลายเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางประสานบาตร และเป็นต้นกำเนิดธรรมเนียมการสร้างบาตรให้เป็นราอยประสานต่อกันเป็นตะเข็บ ประหนึ่งการประสานบาตรของพระพุทธเจ้าในครั้งนั้นด้วย
นอกจากนั้น การทำบาตรยังเป็นหัตถกรรมงานฝีมือที่มีมาแต่สมัยโบราณ สืบทอดกันมาจากกรุงศรีอยุธยาสู่รัตนโกสินทร์ ขึ้นชื่อว่าบาตร คนทั่วไปอาจไม่มีส่วนสำคัญในการใช้ แต่ในทางหลักพระพุทธศาสนาแล้ว บาตรมีความสำคัญต่อพระสงฆ์อย่างขาดไม่ได้ ชาวพุทธจึงนิยมถวายบาตรพระ เฉกเช่นที่ ท้าวจตุมาหราช เคยถวายมาแล้วนั่นเอง
10 อานิสงส์จากการถวายบาตรพระ มีอะไรบ้าง
ผู้ที่ถวายบาตรแด่พระสงฆ์ ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐแล้ว จะได้รับอานิสงส์ผลบุญถึง 10 ประการ ดังต่อไปนี้
- มีโอกาสบริโภคโภชนาหารในภาชนะทองคำ ภาชนะแก้วมณี ภาชนะเงิน และภาชนะที่ทำด้วยทับทิมในกาลทั้งปวง
- เป็นผู้ไร้ซึ่งอันตรายจากสัตว์ มนุษย์ เป็นต้น
- เป็นผู้ไม่มีเสนียดจัญไร
- เป็นที่ยำเกรงของชนทั้งหลาย
- เป็นผู้ไม่ขาดแคลนข้าว น้ำ ผ้า และที่นอน
- มีโภคสมบัติบริบูรณ์ ไม่พินาศด้วยภัยธรรมชาติหรือโจร
- เป็นผู้มีจิตที่มั่นคง
- เป็นผู้ใคร่ธรรมทุกเมื่อ
- เป็นผู้มีกิเลสน้อย ไร้เรื่องหมองเศร้าจิตใต
- เป็นผู้ไม่มีอาสวะ (ไม่มีกิเลส สิ่งที่ทำให้จิตใจหมองมัวหรือรับคุณธรรมได้ยาก)
ควรถวายบาตรพระในโอกาสใด
การถวายพระสามารถทำได้หลายโอกาสในเวลาที่เหมาะสม เช่น
- ในเวลาที่วัดมีกิจกรรมอุปสมบทพระหรือสามเณร
- ในเวลาที่มีญาติมิตร คนที่เคารพนับถือ บวชเป็นพระหรือสามเณร
- ถวายเป็นบริวารกฐินหรือผ้าป่า
- เมื่อพบเห็นพระที่ใช้บาตรทะลุ แตก ร้าว หรือบิ่น หรือท่านมีบาตรเสียหายแล้วบอกกล่าวให้เราได้ทราบ
ข้อแนะนำตามพระวินัยที่เหมาะแก่การถวายบาตรพระ
ในสมัยพุทธกาล บาตรที่มีลักษณะตรงตามหลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นคือ “บาตรดินเผา” และ “บาตรเหล็กรมดำ” มีขนาดตั้งแต่ 7-11 นิ้ว อีกทั้งพระพุทธองค์ยังทรงบัญญัติห้ามไม่ให้พระภิกษุใช้บาตรที่ทำจากวัสดุ 11 ชนิด ได้แก่ ทอง เงิน แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วผลึก สัมฤทธิ์ แก้วหุง ดีบุกสังกะสี ทองแดง และไม้ เหตุผลเพราะเป็นวัสดุที่มีค่า มีราคา ถือเป็นการก่อกิเลส ซ้ำร้ายยังอันตรายต่อสวัสดิภาพหากมีโจรขโมยมาปล้น
อย่างไรก็ตาม ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป วัดหลาย ๆ แห่งจึงอนุโลมให้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลส เนื่อง จากสะดวกในการดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย ส่วนฝาบาตรนั้นดั้งเดิมจะทำจากไม้ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ฝาสแตนเลสแทน เนื่องจากฝาบาตรที่ทำจากไม้มีปัญหาแตกหักง่าย แต่พระระดับเกจิบางรูปก็ยังคงใช้ฝาบาตรที่ทำจากไม้อยู่ ซึ่งหากใครที่ต้องการถวายบาตรพระบวชใหม่ ควรพิจารณาบาตรพระที่มีลักษณะ ดังนี้
- มีขนาด 6-9 นิ้ว อยู่ในเกณฑ์ตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ โดยไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป เพราะอาจทำให้เกิดกิเลสได้
- ทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีน้ำหนักเบา เช่น สแตนเลส หรือเทฟล่อนเคลือบ เพื่อความปลอดภัยในการใส่อาหารร้อนและฉันอาหารในบาตร
- เลือกสินค้าที่มีคุณภาพดี คงทน เพราะนอกจากจะถวายพระบวชใหม่แล้ว เมื่อสึกก็ยังสามารถถวายวัด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกด้วย
- ควรถวายบาตรให้ครบชุด ได้แก่ บาตร ถลกบาตร (ที่หุ้มบาตร) ขาบาตรหรือเชิงบาตร หากมีถุงตะเคียว ผ้าเช็ดบาตร หรือเครื่องอัฐบริขารอื่น ๆ ด้วยก็จะยิ่งดี
- ราคาตั้งแต่ 300-1,700 บาท โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับวัสดุ ขนาด และวิธีการทำ
บาตรพระ ซื้อที่ไหน
สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ บาตรพระ ได้ที่นี่ (https://www.chokdees.com/product-category/monk-alms-bowl/) หรือแอดไลน์ มาสอบถามข้อมูลก่อนได้ครับ ทางร้านยินดีให้คำแนะนำ
คำถวายบาตรพระ
เอเต มะยัง ภันเต ปัตเต สะปะริวาเร ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ เอเต ปัตเต สะปะริวาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายบาตร พร้อมกับของบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับบาตร พร้อมกับของบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ ฯ
บาตรพระในปัจจุบันมีหลายหลายแบบ หลายคนอาจสงสัยและเลือกกันไม่ถูก แต่หากรู้ที่มาที่ไป ความสำคัญของบาตร และคำแนะนำข้างต้นแล้ว ก็จะทำให้การถวายบาตรพระบวชใหม่เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น รู้ไว้ได้ประโยชน์ แถมได้บุญแบบเต็ม ๆ
สนใจสั่งซื้อ บาตรพระ และ ผ้าไตรจีวรที่ได้มาตรฐาน ทั้งเนื้อผ้า, ขนาดและการตัดเย็บ และเลือกชมสินค้าอื่นๆ
คลิกที่นี่ได้เลยครับ โชคดีสังฆภัณฑ์
อ่านบทความอื่นๆ ของทาง โชคดี สังฆภัณฑ์ อ่านบทความเพิ่มเติม
ช่องทางการติดต่ออื่นๆ
แอด Line : @chokdees
Shopee : Chokdees
Lazada : Chokdees
IG: chokdee_sanghaphan